ประวัติความเป็นมาของเอกภพ

                                    ประวัติความเป็นมาของเอกภพ



การเกิดเอกภพ
    มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้นเมื่อสี่ล้านปีก่อนบนดาวเคราะห์อายุ 4,600 ล้านปีดวงนี้ โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 3 ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้ง 9 ของระบบสุริยะ ระบบสุริยะ
ของเราอยู่ในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก  ซึ่งเมื่อมองจากด้านข้างจะมีรูปร่างเหมือนจานสองใบประกบกันและดูเหมือนกังหันเมื่อมองจากด้านบน
     กาแล็กซี่ทางช้างเผือกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 100,000 ปีแสง ซึ่งหมายความว่าหากเราสามารถเดินทางด้วยความเร็วเท่ากับแสงจะต้องใช้เวลาถึง 100,000 ปีในการเดินทางจากขอบกาแล็กซี่ด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง 
     ดวงอาทิตย์เป็นหนึ่งในดาวฤกษ์จำนวนหนึ่งแสนล้านดวงของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก
โดยดวงดาวที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าทั้งหมดอยู่ในกาแล็กซี่เดียวกันนี้
     ปัจจุบันนักดาราศาสตร์เชื่อว่าเอกภพประกอบด้วยกาแล็กซี่ถึง หนึ่งแสนล้านกาแล็กซี่
โดยกาแล็กซี่แมกเจนแลนใหญ่อยู่ใกล้กาแล็กซี่ทางช้างเผือกของเรามากที่สุด ด้วยระยะทาง
ที่แสงใช้ระยะทางในการเดินทางถึง 170,000 ปี   
     เอกภพทั้งหมดถือกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไรเป็นปริศนาที่นักดาราศาสตร์พยายามค้นหาคำตอบมาเนิ่นนานแล้ว ปัจจุบันคำอธิบายที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือทฤษฎีบิ๊กแบง
     ทฤษฎีบิ๊กแบงระบุว่าการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่เมื่อประมาณ 15,000 ล้านปีก่อนเป็นต้นกำเนิดของเอกภพ และสรรพสิ่งทั้งหมด หลังการระเบิดเอกภพขยายตัวออกทุกทิศทางพร้อมกับอุณหภูมิที่ค่อยๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไปนับล้านปีกลุ่มอนุภาคเล่นอิเล็กตรอนและ
โปรตรอนเริ่มรวมตัวกันเป็นกาแล็กซี่ต่อมา ฝุ่นภายในกาแล็กซี่จึงรวมตัวกับแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียมเกิดเป็นดาวฤกษ์ซึ่งเปล่งแสงได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นภายใน
      วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์ทุกดวงจะมาถึงเมื่อไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักเริ่มหมดลง ดาวฤกษ์จะสว่างวาบขึ้นพร้อมกับขยายตัวกระทั่งรัศมีเพิ่มขึ้นกว่าร้อยเท่าเรียกว่าดาวยักษ์แดง ปรากฏการณ์เช่นนี้ จะเกิดขึ้นกับดวงอาทิตย์ในอีก 5,000 ล้านปีข้างหน้าซึ่งเมื่อเวลานั้นมาถึงโลกจะถูกเผาไหม้เป็นเถ้าถ่านอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง หลังจากขยายตัวเป็นดาวยักษ์แดง ดาวฤกษ์จะเข้าสู่วาระสุดท้ายโดยการหดตัว อย่างรุนแรง หากเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลสารน้อย เช่นดวงอาทิตย์ พื้นผิวส่วนนอกจะกลายสภาพเป็นก๊าซ แผ่ออกสู่ห้วงอวกาศส่วนแกนกลางจะเย็นลงพร้อมกับหดตัวอย่างรุนแรงกลายสภาพเป็นดาวแคระขาว
ซึ่งมวลสารของดวงดาว 1 ช้อนโต๊ะจะมีน้ำหนักประมาณ 1,000 ตัน แต่หากดวงดาวมีมวลมากพออาจระเบิดเป็น Supernova แกนกลางที่เหลือจะกลายเป็นดาวนิวตรอนซึ่งมีความหนาแน่นสูงมากจนมวลสาร 1 ช้อนโต๊ะหนักนับพันล้านตันและหากดาวดวงนั้นมีมวลมากกว่า 3 เท่าของดวงอาทิตย์อาจเกิดการหดตัวอย่างแรงที่สุดจนกลายสภาพเป็นหลุมดำหรือ Black Hole ที่มีแรงดึงดูดมหาศาลจนแม้แต่แสงก็ไม่อาจหลบหนีการดูดกลืนเข้าสู่หลุมดำได้ 
     การก่อเกิด เปลี่ยนแปลง และเสื่อมสลายของดาวฤกษ์เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา มวลสารและพลังงานของดวงดาวที่แตกดับกลับกลายเป็นองค์ประกอบของดาวดวงใหม่หมุนเวียต่อไปไม่สิ้นสุด สิ่งใดดำรงอยู่ก่อนการก่อเกิดเอกภพวาระสุดท้ายของเอกภพเป็นเช่น
ไรรวมทั้งมีชีวิตอยู่บนดาวดวงอื่นหรือไม่ทั้งหมดนี้คือปริศนาที่ยังรอคำตอบจากนักบุกเบิก
ห้วงอวกาศรุ่นต่อไปเกร็ดดาราศาสตร์ หากเทียบอายุ 15,000 ล้านปีของเอกภพเป็นเวลา 24 ชั่วโมงมนุษย์ก็คือสิ่งมีชีวิตที่มีการเกิด และดับทุก 0.0005 วินาทีและหากเทียบรัศมี 100,000 ปีแสงของกาแล็กซี่ทางช้างเผือกเป็นระยะทาง 1 กิโลเมตรมนุษย์ก็จะมีขนาดเพียง 1 ใน 5,000 ล้าน มม.เท่านั้นนี่คือความเล็กน้อยด้อยค่าของมนุษย์เมื่อเทียบกับเอกภพอันยิ่งใหญ่



                                         >>>>>>>>กลับไปยังสารบัญ<<<<<<<<

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น